ดาวพฤหัส (Jupiter)

 


ดาวพฤหัสบดี (5.2 AU) มีมวลประมาณ 318 เท่าของมวลโลก นับเป็นมวลมหาศาลถึง 2.5 เท่าของมวลรวมทั้งหมดของดาวเคราะห์ที่เหลือรวมกัน ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมจำนวนมาก ความร้อนที่สูงมากภายในของดาวทำให้เกิดคุณลักษณะแบบกึ่งถาวรหลายประการในสภาพบรรยากาศของดาว เช่นแถบเมฆ และจุดแดงใหญ่ ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่รู้จักแล้วทั้งสิ้น 63 ดวง ดวงที่ใหญ่ที่สุด 4 ดวงคือ แกนิมีด คัลลิสโต ไอโอ และยูโรปา มีลักษณะคล้ายคลึงกับลักษณะของดาวเคราะห์ใกล้โลก เช่นมีภูเขาไฟ และมีกระบวนการความร้อนภายในของดาว ดวงจันทร์แกนิมีดเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ

 

โครงสร้างดาวพฤหัสบดี

 

 

ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ก๊าซขนาดยักษ์ที่ไม่มีพื้นผิวให้เหยียบ แกนกลางเป็น ชั้นแข็งของไฮโดรเจน และฮีเลียมที่แข็งเหมือนโลหะเนื่องจากอยู่ภายใต้ความกดดันที่สูงมาก ชั้นกลางเป็นชั้นของของไฮโดรเจนเหลว หนาราว 45,000 กิโลเมตร ภายใต้ความกดดันสูงราว 3 ล้านเท่า ของ ความกดอากาศบนโลก ถัดขึ้นมาอีกเป็นชั้นของโมเลกุล ของไฮโดรเจนที่แตกตัว เป็นประจุไฟฟ้า ทำให้เกิดสนาม แม่เหล็กความเข้มสูงรอบดาวพฤหัสรูปคล้ายโดนัท ซึ่งตรวจวัดได้จาก ยานวอยเอเจอร์ ชั้นบนสุดเป็นชั้นของ บรรยากาศที่หนาแน่น บรรยากาศของดาวพฤหัส ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 81% ฮีเลียม 18% ที่เหลือเป็น มีเธน แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส และ ไอน้ำ