ดาวอังคาร (Mars)

 

 

 

ดาวอังคาร (1.5 AU) มีขนาดเล็กกว่าโลกและดาวศุกร์ (0.107 เท่าของมวลโลก) มีชั้นบรรยากาศเจือจางที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์คาร์บอนไดออกไซด์พื้นผิวของดาวอังคารเขรุขระภูเขาไฟจำนวนมาก เช่น Olympus Mons และหุบเขาลึกชันมากมายเช่น Valles Marineris แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ สีของดาวอังคารที่เราเห็นเป็นสีแดง เป็นเพราะสนิมที่มีอยู่ในพื้นดินอันเต็มไปด้วยเหล็กดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวาร ขนาดเล็กสองดวง คือไดมอสกับโฟบอสซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยที่บังเอิญถูกแรงดึงดูดของดาวอังคารจับตัวเอาไว้ดาวอังคารมีทะเลทรายกว้างใหญ่ไพศาลมากมายที่ดาษดาด้วยทรายและหินต่าง ๆ ที่มีสีค่อนข้างแดง  มีภูเขาไฟที่สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) หลายเท่าอยู่หลายลูก

 

โครงสร้างของดาวอังคาร

 

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่มีเนื้อแข็ง (solid planet) มีแก่น (core) ที่มีลักษณะเป็นโลหะ ปกคลุมด้วยเนื้อดาว  (mantle) ที่มีลักษณะเป็นหิน 1 ชั้น และมีเปลือกชั้นนอก  (outer crust)  อยู่อีกชั้นหนึ่ง  ดาวอังคารมีทะเลทรายกว้างใหญ่ไพศาลมากมายที่ดาษดาด้วยทรายและหิน ต่าง ๆ ที่มีสีค่อนข้างแดง  มีภูเขาไฟที่สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) หลายเท่าอยู่หลายลูก มีหุบเขาขนาดมหิมาที่เกิดจาการแปรสันฐานทางธรณีวิทยา มีหลุมภูเขาไฟ (volcanic craters) และหลุมขนาดเล็กที่เกิดขึ้นจากการกระแทกของลูกอุกาบาตต่าง ๆ ด้วย

 

การเกิดคอนจั่งชั่นและออพโพซิชั่นของดาวอังคาร

เมื่อดาวอังคารโคจรเข้ามาใกล้โลก ช่วงเวลาที่สังเกตดาวอังคารได้ง่ายที่สุดคือ ช่วงออพโพซิชัน (Opposition) ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกมากที่สุด แม้ว่าระยะห่างระหว่างโลกและดาวอังคาร ณ ออกโพซิชัน แต่ละครั้งก็ไม่คงที่เพราะวงโคจรของดาวอังคารมีความรีพอสมควร แต่ช่วงออพโพซิชัน ก็ยังเป็นช่วงที่สามารถสังเกตได้ดีที่สุดในรอบวงโคจรนั้น ๆ เสมอ คอนจังชัน คือ ตำแหน่งที่ดาวอังคารอยู่อีกด้านหนึ่งของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นตำแหนงที่ดาวอังคารอยู่ไกลจากโกมากที่สุดในรอบการโคจร