ดาวพุธ (Mercury)

 

ดาวพุธ คือดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด (0.055 เท่าของมวลโลก) ดาวพุธไม่มีดาวบริวารของตัวเองสภาพพื้นผิวที่มีนอกเหนือจากหลุมบ่อจากการปะทะก็จะเป็นสันเขาสูงชันซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในช่วงยุคการก่อตัวในช่วงเริ่มแรกของประวัติศาสตร์ ชั้นบรรยากาศของดาวพุธเบาบางมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีบรรยากาศประกอบด้วยอะตอมที่ถูกลมสุริยะพัดพาขับไล่ไปจนเกือบหมดแกนกลางของดาวเป็นเหล็กที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มาก ต่อมาเป็นชั้นเปลือกบางๆ ที่ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน ทฤษฎีเกี่ยวกับชั้นเปลือกของดาวจำนวนหนึ่งอธิบายถึงชั้นผิวรอบนอกที่ถูกฉีกออกด้วยการปะทะครั้งใหญ่บ้างก็ว่ามันถูกกีดกันจากการพอกรวมของชั้นผิวเนื่องจากพลังงานมหาศาลของดวงอาทิตย์อันเยาว์

 

โครงสร้างของดาวพุธ

 

ดาวพุธ เป็นดาวที่มีเนื้อแข็ง มีแก่นปกคลุมด้วยเนื้อดาว ที่เป็นหินชนิดต่าง ๆ 1 ชั้น โดยมีเปลือกนอกอยู่บนชั้นเนื้อดาวนี้อีกทีหนึ่ง  ดาวพุธก่อเกิดขึ้นเมื่อราว 4,500 ล้านปีมาแล้ว  และเนื่องจากมีขนาเล็กมากจึงกลายเป็นของแข็งได้เร็ว เชื่อกันว่าบนดาวเคราะห์ดวงนี้ไม่เคยมีพฤติการณ์ภูเขาไฟ เกิดขึ้นเลย  ดังนั้นดาวพุธจึงไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลยนับแต่ที่ก่อเกิดขึ้นมา เว้นแต่การถูกพุ่งชนโดยลูกอุกกาบาตต่าง ๆ  โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วย แกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นซิลิเกท ซึ่งหนาเพียง 500 ถึง 600 กิโลเมตร บางส่วนของแกนอาจจะยังหลอมละลายอยู่