ดวงจันทร์ (Moon)

 

 

ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก จัดเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่ลำดับที่ 5 ในระบบสุริยะ มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วัน เมื่อเปรียบเทียบการแปรคาบโคจรตามมาตรภูมิศาสตร์ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ ซึ่งจะซ้ำรอบทุกๆ ช่วง 29.5 วัน (เรียกว่า คาบไซโนดิก) เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ดังนั้นพื้นผิวของดวงจันทร์มีน้อยกว่า 1 ใน 10 ของพื้นผิวของโลก (ประมาณ 1 ใน 4 ของผืนทวีปของโลกเท่านั้น คิดเป็นขนาดใหญ่ประมาณรัสเซีย แคนาดา กับสหรัฐอเมริกา รวมกัน) มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก

สำหรับโลกที่เราอาศัยอยู่นั้นมีดวงดาวบริวารเพียงดวงเดียวเท่านั้นคือ ดวงจันทร์ และดวงจันทร์นี้ก็มีอิทธิพลต่อโลกเราด้วยเช่นกันเช่น การเกิดน้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น ดวงจันทร์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,474.206 กิโลเมตร (ประมาณ 0.273 เท่าของโลก) มวล 7.3477ื1022 กิโลกรัม

 

โครงสร้างดวงจันทร์

 

 

แกนในของดวงจันทร์มีขนาดเล็ก รัศมีราว 340 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นหิน ผิวเปลือกทางด้านหันหาโลกหนาราว 60 กิโมเมตร แต่ด้านตรงข้ามหนามากกว่านั้น พื้นผิวดวงจันทร์มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่สูง ขรุขระ อายุเก่าแก่ กับพื้นที่ต่ำค่อนข้างราบเรียบ อายุน้อยที่เรียกกันว่า ทะเล(maria)ทั้งๆที่บนดวงจันทร์ไม่มีทะเลอยู่จริง เดิมคงเป็นหลุมขนาดใหญ่ที่ลาวาไหลท่วมในภายหลัง พื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยผงฝุ่นละเอียด และซากหินที่เกิดจากอุกาบาตพุ่งชน แต่ที่น่าแปลกคือเหตุใดจึงมีพื้นที่ทะเลอยู่แต่ทางด้านที่หันหาโลก