ดาวศุกร์ (Venus)

>

 

 ดาวศุกร์ (0.7 AU) มีขนาดใกล้เคียงกับโลก (0.815 เท่าของมวลโลก) และมีลักษณะคล้ายโลกมาก มีชั้นเปลือกซิลิเกตอย่างหนาปกคลุมรอบแกนกลางของดาวซึ่งเป็นเหล็ก มีชั้นบรรยากาศ และมีหลักฐานแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายในของดาว ทว่าดาวศุกร์แห้งแล้งกว่าโลกมาก ชั้นบรรยากาศของมันก็หนาแน่นกว่าโลกถึงกว่า 90 เท่า ดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารของตัวเอง กล่าวได้ว่า ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด ด้วยอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 400เซลเซียส">°C ซึ่งเป็นผลจากปริมาณแก๊สเรือนกระจกแก๊สเรือนกระจกที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในชั้นบรรยากาศในปัจจุบันไม่มีการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาใหม่ๆ บนดาวศุกร์อีกแล้ว แต่ดาวศุกร์ไม่มีสนามแม่เหล็กของตัวเองที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการที่ดาวศุกร์ยังรักษาชั้นบรรยากาศของตัวเองไว้ได้จึงคาดว่าน่าจะเกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ

โครงสร้างภายในของดาวศุกร์

 

 

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีเนื้อแข็ง  ส่วนแก่น (core)  มีลักษณะคล้ายโลหะ  ล้อมด้วยชั้นของเนื้อดาว (mantle) ที่มีลักษณะเป็นหินหนามาก  โดยมีเปลือกนอก (crust) บาง ๆ อยู่บนชั้นเนื้อดาวอีกทีหนึ่ง  จากการสำรวจอวกาศ   (space probe) ที่ประสบความสำเร็จในการลงสู่พื้นดาวศุกร์ พบว่าดาวศุกร์มีพื้นที่ราบกว้างขวางหลายแห่ง  มีหุบเขามากมาย และมีภูเขาที่มีความสูงกว่า 32,800  ฟุต (10,000  กิโลเมตร)  อยู่หลายลูก  ส่วนบริเวณที่เห็นลึกลงไปนั้นในอดีตน่าจะเป็นทะเลต่าง ๆ  ซึ่งมีมาก่อนการก่อเกิดขึ้นของบรรยากาศ โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบนี้ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก กักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 600-900 องศาเซลเซียส จะเห็นว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม